
โรคซึมเศร้า ทางการแพทย์เรียกว่า Clinical depression ซึ่งมีความหมายว่าเป็นโรคที่มีภาวะซึมเศร้าที่มีมากกว่าอารมณ์ ซึ่งคนส่วนใหญ่นั้นจะมีความรู้สึกหรืออารมณ์หลากหลาย ที่จะช่วยให้ยับยั้งอารมณ์บางอย่างได้ แต่วสำหรับผู้ป่วยโรคนี้จะเกิดเพียงแค่อารมณ์เดียวเท่านั้น จึงทำให้ไม่สามารถยับยั้งอารมณ์ที่เกิดขึ้นได้ จึงทำให้สมดุลของภาวะที่เกิดนั้นๆ ไม่สามารถควบคุมได้ ผู้ป่วยเป็นโรคซึมเศร้าจึงมีอารมณ์ที่เกิดความเสียใจที่รุนแรงมาก
ผู้ป่วยโรคซึมเศร้ามีอาการดังต่อไปนี้
- โรคซึมเศร้ามีอาการรู้สึกเศร้าใจ หม่นหมอง หงุดหงิด หรือรู้สึกไม่สบายใจ
- คิดแต่เรื่องในอดีตที่เศร้าๆ
- น้ำหนักลดลง เบื่ออาหาร
- นอนไม่หลับ หรือนอนมากเกินกว่าปกติ
- รู้สึกผิด สิ้นหวัง หรือรู้สึกว่าตนเองไร้ค่า
- ไม่มีสมาธิ ความจำแย่ลง
- อ่อนเพลีย เมื่อยล้า ไม่มีเรี่ยวแรง
- กระวนกระวาย ไม่อยากทำกิจกรรมใดๆ
- คิดถึงแต่ความตาย และอยากฆ่าตัวตาย
สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคซึมเศร้า : โรคซึมเศร้าสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งทางพันธุกรรม และทางสภาพจิตใจ หรือผู้ป่วยบางคนเกิดหลักจากการเผชิญกับสถานการณ์เลวร้าย ที่รวมกันทั้ง 3 ปัจจัยนี้คือ
- โรคซึมเศร้าเกิดจากความเครียด โดยที่สมองของผู้ป่วยโรคนี้ จะมีความผิดปกติของระดับสารเคมี ที่ไม่สามารถหลังสารที่สร้างความสุขออกมา และไม่มีความสมดุลของด้านอารมณ์ได้เลย
- สภาพทางจิตใจที่เกิดจากการเลี้ยงดู เป็นสิ่งที่ผู้ป่วยมีการฝังใจในเรื่องอดีตตที่ผ่านมา ผู้ป่วยจะไม่มีควาฒภาคภูมิใจในตนเอง และจะมองทุกสิ่งอยู่ในแง่ลบตลอดเวลา
- การเผชิญกับสถานการณ์เลวร้าย ที่เกิดจากการสูญเสียครั้งใหญ่ จึงทำให้หากเกิดปัญหาเล็กๆน้อยในชีวิตที่ไม่สมปรารถนา ก็จะกระตุ้นให้เกิดโรคซิมเศร้าได้
วิธีป้องกันโรคซึมเศร้าในระยะเริ่มต้น
- อย่างคาดหวัง เป็นสิ่งหนึ่งที่เราจะสามารถทำได้ เพราะหากเรารู้จัดปล่อยวางก็จะช่วยให้จิตใจเราดีขึ้น
- อย่างนำตนเองเข้าไปเกี่ยวกับสถานการณ์ที่ซับซ้อน ด้วยส่วนใหญ่แล้วก็จะทำให้เกิดความเครียดที่สะสม หากเราสามารถหลีกปัญหาได้ ก็จะช่วยให้เราไม่เกิดภาวะโรคซึมเศร้าได้มาก
- อย่างตัดสินใจในเรื่องใหญ่ๆในชีวิตอย่างเช่น เปลี่ยนงาน แต่งงาน หรือหย่า
- การออกกำลังกายจะช่วยให้ร่างกายและจิตใจของเราดีขึ้น
- การหาแรงบันดาลใจ จะช่วยให้คุณสามารถมองทัศนคติในการใช้ชีวิตที่ดีขึ้น
- หากเกิดปัญหาหรือมีจิตใจที่แย้ลง การโทรไปปรึกษาจิตแพทย์ ก็จะช่วยให้คุณมีทิศทางในการรักษาโรคนี้ได้ดียิ่งขึ้น
การรักษาทางการแพทย์ : สำหรับทางด้านการแพทย์นั้น ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะได้รับการรักษาเบื้องต้น เพื่อที่จะประเมินของอาการซึมเศร้าอยู่ในระดับไหน ซึ่งหากเกิดเป็นโรคซึมเศร้าในระยะที่น่าเป็นห่วง แพทย์ก็จะทำการรักษาด้วยการใช้ยา ด้วยตัวยาที่แพทย์ใช้จะสร้างเคมีในสมองของผู้ป่วยให้สมดุลได้อย่างมีประสิทธิ์ภาพ
ผลข้างเคียงของยาที่ใช้รักษาโรคซึมเศร้า
- ปากแห้งคอแห้ง ให้ดื่มน้ำมากๆ
- ท้องผูก ควรรับประทานอาหารที่มีกากมากกว่าเดิม
- ตาพร่ามัว จะเป็นในช่วงระยะสั้นๆก็จะหายไปเอง
- เวียนศีรษะ
- ง่วงนอน
- ปัญหาการถ่ายปัสสาวะ ให้ใช้มือกดท้องหรือแก้ปัญหาตามที่แพทย์สั่ง